การใช้อินดิเคเตอร์ MOMENTUM (ประเภทออสซิลเลเตอร์) เป็นหนึ่งในอินดิเคเตอร์ที่มีไว้ เพื่อวัดโมเมนตัมในตลาด มีอินดิเคเตอร์โมเมนตัมหลายอย่าง ที่สามารถใช้สำหรับการเทรด ภายในกรอบรายวันได้ เช่นเดียวกับรูปแบบอื่นๆ รวมถึง :
- อินดิเคเตอร์ MACD – MOVING AVERAGE CONVERGENCE DIVERGENCE
- อินดิเคเตอร์ RSI – RELATIVE STRENGTH INDEX
- อินดิเคเตอร์ STO – STOCHASTIC OSCILLATOR
นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้อินดิเคเตอร์ EXPONENTIAL MOVING AVERAGE – 3 EMA ซึ่งคุณจะมองหาช่องว่างที่กว้างขึ้นระหว่างค่าเฉลี่ยได้
โปรดทราบว่าไม่มีอินดิเคเตอร์โมเมนตัมที่ดีที่สุด พวกเขาทั้งหมดวัดสิ่งเดียวกัน แต่วิธีการใช้งานแตกต่างกัน คุณต้องเข้าใจในพื้นฐานของแต่ละอินดิเคเตอร์แล้วหาสิ่งที่เหมาะสมกับวิธีการเทรดของคุณเอง ในบทความนี้เราจะพูดถึงอินดิเคเตอร์โมเมนตัมซึ่งอยู่ในตระกูลของ OSCILLATOR
วิธีใช้อินดิเคเตอร์โมเมนตัม
สิ่งแรกที่คุณต้องทำคือใช้อินดิเคเตอร์กับแพลตฟอร์มการสร้างแผนภูมิกราฟของคุณในกรอบเวลาที่คุณเลือก คุณสามารถเลือกเพิ่มหรือลด LEVEL ในอินดิเคเตอร์ของคุณเพื่อให้สามารถมองได้ง่ายขึ้นได้ รวมไปถึงคุณยังสามารถแก้ไขการตั้งค่าพื้นฐานได้ถ้าคุณมีเทคนิคใดๆ ที่คิดว่าเหมาะสมที่สุดสำหรับการเข้าเทรดของคุณ
ฉันแนะนำว่าการตั้งค่าพื้นฐานน่าจะเป็นสิ่งที่มีค่าความเป็นกลางมากที่สุดโดยไม่จำกัด คุณสามารถตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตัวคุณได้ เพราะไม่มีค่าใดในอินดิเคเตอร์ใดๆ ที่เป็นคำตอบที่ดีที่สุดได้ มีแต่ค่าที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ!
จากภาพตัวอย่างมาดูวิธีการอ่านอินดิเคเตอร์ :
- กราฟราคาทำตำแหน่ง LOWER HIGH และในโมเมนตัมก็ทำ LOWER HIGH เป็นสัญญาณของความต่อเนื่องของกราฟราคา
- ต่อมากราฟราคาทำตำแหน่ง LOWER LOW แต่ในโมเมนตัมทำ HIGHER LOW การเคลื่อนไหวที่ขัดแย้งกันนี้ คุณอาจสามารถทำการเทรดได้เพราะมันไม่ได้หมายถึงการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มโดยอัตโนมัติ อาจเป็นการย่อเพื่อไปต่อ
- มีการ BREAK OUT ช่วงของกรอบราคาและมีการทำ HIGHER HIGH ในโมเมนตัม
คุณควรทราบว่าอินดิเคเตอร์โมเมนตัม :
- ไม่ได้บอกทิศทางของแนวโน้ม คุณสามารถใช้รูปแบบ PRICE ACTION หรือเส้นค่าเฉลี่ยราคาในการกำหนดแนวโน้มขาขึ้น ตลาดกระทิงหรือแนวโน้มขาลง ตลาดหมีได้
- คุณไม่สามารถใช้อินดิเคเตอร์โมเมนตัมเพื่อนำมาบอกทิศทางของแนวโน้มของกราฟราคาได้แต่คุณสามารถใช้มันเพื่อดูเงื่อนไขก่อนการเข้าเทรดด้วย OVERBOUGHT หรือ OVERSOLD ได้
- ด้วยเทคนิคการเทรดที่ใช้การวิเคราะห์ในรูปแบบนี้ คุณจะต้องเปรียบเทียบการเคลื่อนไหวของกราฟราคาจริงกับการอ่านค่าอินดิเคเตอร์
เทคนิค การใช้อินดิเคเตอร์ MOMENTUM
หนึ่งในเทคนิคการใช้อินดิเคเตอร์โมเมนตัมที่ดีที่สุดคือการมองหาการตั้งค่าการเทรดในรูปแบบ PULLBACK – ทำไม? โดยปรกติเทรดเดอร์มักมองหาการเทรดในแนวโน้มที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือแนวโน้มต่อเนื่องแต่สำหรับอินดิเคเตอร์โมเมนตัมจะมีการแสดงการ PULLBACK อยู่ด้วยซึ่งสามารถทำให้คุณวางแผนการเทรดต่อไปได้
มาวิเคราะห์แผนภูมิกราฟราคาจากในภาพตัวอย่าง :
- จากรูปแบบ PRICE PATTERN กราฟราคากำลังทำรูปแบบขาขึ้น กราฟราคามีการ BREAK ตำแหน่งสูงสุดไปได้ โดยทำตำแหน่ง HIGHER HIGH
- อินดิเคเตอร์โมเมนตัมทำตำแหน่ง HIGHER HIGH เช่นเดียวกับกราฟราคา เป็นการแสดงความต่อเนื่องของรูปแบบ เราจะมองหาจังหวะการ PULLBACK เพื่อเข้าทำการเทรด BUY ต่อเนื่องขึ้นไปอีก
- เมื่อมีการ PULLBACK แล้วกราฟราคาวิ่งขึ้นไปด้วยแรงโมเมนตัมภายในแท่งเทียน แม้ว่าในอินดิเคเตอร์โมเมนตัมด้านล่างจะทำตำแหน่ง HIGHER HIGH ตามกราฟราคา แต่นั่นหมายถึงอาจมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกิดขึ้น
- กราฟราคา BREAKOUT ช่วงช่องขึ้นไปทำตำแหน่ง HIGHER HIGH ได้แต่ที่อินดิเคเตอร์กลับแสดงตำแหน่ง LOWER HIGH จึงทำให้เราไม่มองหาการเทรด PULLBACK ในครั้งต่อไป
คุณเริ่มเห็นหรือไม่ ว่าคุณสามารถใช้อินดิเคเตอร์โมเมนตัมในการออกแบบเทคนิคการเทรดของคุณได้อย่างไร?
วิธีการเข้าสู่การเทรดที่ยืนยันด้วยโมเมนตัม
มีวิธีการง่ายๆ หลายวิธีและในขณะที่การเข้าสู่การเทรดมีความสำคัญมาก การรักษาระดับความเสี่ยงและการจัดการ การเทรดต่างๆ ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน
จากภาพตัวอย่าง
- มีความขัดแย้งกันระหว่างกราฟราคากับอินดิเคเตอร์ มันคือรูปแบบการกลับตัวของกราฟแท่งเทียน คุณสามารถตั้งค่าการเทรด BUY เมื่อกราฟราคาสามารถ BREAK ด้านบนของกราฟแท่งเทียนที่สูงสุดนี้ได้
- ให้ใช้เส้นค่าเฉลี่ย EMA 5 คุณสามารถเทรด BUY เมื่อกราฟราคาปิดเหนือเส้นระดับค่าเฉลี่ยนี้
- นี่คือเทรนด์ไลน์และเมื่อกราฟราคาสามารถ BREAK เส้นเทรนด์ไลน์ไปได้และปิดเหนือเส้นค่าเฉลี่ยอีกด้วย คุณยิ่งสามารถเปิดคำสั่ง BUY ได้
- โปรดจำไว้ว่าถ้าเป็นแนวโน้มขาลง กราฟราคาจะต้องทำตำแหน่ง LOWER LOW และ LOWER HIGH แต่ในภาพตัวอย่างนี้เราจะเห็นการทำ HIGHER HIGH เป็นการยืนยันการเทรด BUY ของเรา
- เมื่อกราฟราคาขยับสูงขึ้น คุณควรมองกราฟราคาให้ไกลออกอีกสักหน่อย คุณสามารถมองไปทางซ้ายและเห็นได้ว่ากราฟราคาเริ่มมีการ BREAK ตำแหน่งสวิงสูงสุด ล่าสุดก่อนหน้าไปได้แล้ว ให้คุณตัดสินใจได้ว่าจะถือคำสั่งเทรดนี้ต่อหรือหยุดคำสั่งเทรดนี้
สรุป : การใช้อินดิเคเตอร์ MOMENTUM
ให้ใช้อินดิเคเตอร์โมเมนตัมเป็นเครื่องมือเพื่อมองหาความเหมาะสมระหว่างกราฟราคากับตัวมันเอง เพื่อสร้างเทคนิคหรือมองหาตำแหน่งในการเข้าเทรดที่ดีให้กับตัวคุณ
การเทรดรูปแบบ PULLBACK
- เราจะต้องเห็นแรงกระตุ้นที่มีโมเมนตัมและอินดิเคเตอร์ OSCILLATOR ของโมเมนตัมนั้นถึงจุดที่มันมีการเปลี่ยนแปลง
- มองหาอินดิเคเตอร์โมเมนตัมที่สร้างจุดสูงสุดใหม่ในตลาดที่มีแนวโน้ม
- ปล่อยให้รูปแบบ PULLBACK เริ่มต้นขึ้นโดยอาจจะดูที่ช่องระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยราคา 20 EMA และ 50 EMA
การเทรดรูปแบบ BREAKOUTS
- เราจะมองหาช่องช่องของกราฟราคาก่อนโดยเราจะมองหาโซนแนวรับ แนวต้าน
- ต่อมาให้มองหาหรือรอจังหวะการ BREAK OUT
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอินดิเคเตอร์โมเมนตัมทำสวิงสูงสุดใหม่หรือต่ำสุดใหม่ก่อนจะมีการ BREAK
การเทรดไม่จำเป็นต้องยุ่งยาก รูปแบบช่วงช่องการเทรดหรือรูปแบบ PULLBACKS เกิดขึ้นทุกวันในตลาดทำให้เป็นเทคนิคการเทรดที่ยอดเยี่ยมได้ด้วยตัวคุณเอง การเพิ่มอินดิเคเตอร์โมเมนตัมสามารถช่วยคุณกำหนดกฎเกณฑ์วิธีการเทรดเพิ่มขึ้นหรืออย่างน้อยที่สุดก็เพิ่มความมั่นใจก่อนการเข้าเทรดให้คุณได้
รีวิวโบรกเกอร์ EXNESS เพิ่มเติม สามารถศึกษาได้ที่นี่…